21 ตุลาคม 2552

ทัศนศึกษา



ประวัติพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี

ตั้ง อยู่ริมถนนโพศรี ใกล้วัดโพธิสมภรณ์ ตัวอาคารสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2463
โดยดำริพระยาศรีสุริยราชวรรานุวัตร สมุหเทศาภิบาล สำเร็จราชการมณฑลอุดร
คุณหญิง ข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนในจังหวัด เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนสำหรับ
โรงเรียนนารีอุปถัมภ์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2468
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
พระราชทานนามโรงเรียนขึ้นใหม่ว่า “ราชินูทิศ” จึงเป็นชื่อเรียกอาคารหลังนี้สืบมา
อาคารราชินูทิศได้ใช้เป็นอาคารสำนักส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง
เมื่อพ.ศ. 2473 และเมื่อปีพ.ศ. 2503 ใช้เป็นสำนักโครงการพัฒนาการศึกษาส่วนภูมิภาค
จนต่อมาพ.ศ. 2516 ได้ใช้เป็นอาคารสำนักงานศึกษาธิการเขต เขตการศึกษา 9
และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุดรธานี และในปีพ.ศ. 2547
จังหวัดอุดรธานีได้มอบหมายให้เทศบาลนครอุดรธานี เป็นผู้ดูแลรักษา





อาคารราชินูทิศเป็นอาคาร 2 ชั้น ก่อด้วยอิฐถือปูน รูปทรงแบบตะวันตก
หลังคาทรงปั้นหยา หน้าต่างโค้ง มีมุขยื่นออกมาด้านหน้าซุ้มประตู
ปัจจุบันได้ปรับปรุงอาคารดังกล่าวนี้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี
จัดแสดงเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับจังหวัดอุดรธานีนับตั้งแต่ประวัติศาสตร์
โบราณคดี ธรรมชาติวิทยา ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรม
รวมถึงพระประวัติและพระเกียรติคุณของกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ผู้ก่อตั้งเมืองอุดรธานี

ภาพกิจกรรมการไปทัศนศึกษา



























9 ตุลาคม 2552

แผนการสอน

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๕
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ การขยายพันธุ์พืช เวลาเรียน ๔ ชั่วโมง
เรื่อง การขยายพันธุ์พืชอวบน้ำ เวลาเรียน ๑ ชั่วโมง
.................................................................................
ความคิดรวบยอด
การขยายพันธุ์ คือการเพิ่มจำนวนหรือปริมาณของพืชที่เราต้องกรรให้มากขึ้น การขายพันธุ์นั้น

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่ ๑ : มาตรฐาน ง ๑.๑ , ง ๑.๒

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. นักเรียนสามารถขยายพันธุ์พืชอวบน้ำได้

จุดประสงค์การเรียนรู้
๑. นักเรียนบอกวิธีขยายพันธุ์พืชอวบน้ำได้
๒. นักเรียนบอกส่วนของพืชอวบน้ำที่จะนำมาขยายพันธุ์ได้

กระบวนการจัดการเรียนรู้
ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
๑. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน
๒. ครูเปิดวีดีโอ เรื่องการขยายพันธุ์พืชให้นักเรียนดู
๓. ครูสาธิตวิธีการขยายพันธุ์ ไม้อวบน้ำให้นักเรียนดู เพื่อให้เห็นของจริง
โดยระหว่างสาธิต ครูอธิบายถึงอุปกรณ์ วิธีการ ขั้นตอน ที่ใช้ขยายพันธุ์
๔. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน

ขั้นสรุป
นักเรียนและครูร่วมพูดคุยสรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียนเรื่องการขยายพันธุ์พืชอวบน้ำ

การวัดและประเมินผล
๑.ครื่องมือวัดผล
๑.๑ แบบทดสอบก่อนเรียน
๑.๒ แบบทดสอบหลังเรียน
๑.๓ แบบสังเกตพฏติกรรมอันพึงประสงค์
๒.วิธีวัด
๒.๑ ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน
๒.๒ สังเกตพฏติกรรม

๓. เกณฑ์การประเมินตามสภาพจริง
๓.๑ จากแบบทดสอบหลังเรียน
ผ่านเกณฑ์ = ๑
ไม่ผ่านเกณฑ์ = ๐

๓.๒ จากใบงาน
ดีมาก = ๔
ดี = ๓
พอใช้ = ๒
ผ่านเกณฑ์ = ๑

๓.๓ การสังเกตพฤติกรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
สนใจ ตั้งใจเรียน ดี = ๔
สนใจ ตั้งใจเรียน = ๓
สนใจ = ๒
สนใจ บ้าง = ๑

ใบความรู้
การขยายพันธุ์ไม้อวบน้ำ
การตัดชำ (Cutting) หมาย ถึง การตัดส่วนหนึ่งส่วนใดของพืช
แล้วนำไปปักไว้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เช่น ปักไว้ในที่มีความชุ่มชื้นหรือแช่ไว้ในน้ำ
ส่วนนั้นจะสามารถเกิดราก และแตกยอด กลายเป็นพืชต้นใหม่ได้ ซึ่งจะมีคุณสมบัติและ
คุณลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ
การ ตัดชำ จะมีความหมายเดียวกับ การปักชำ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การปักชำ
จะใช้กับส่วนที่เป็นลำต้น กิ่ง หรือใบพืช ที่นำไปปักลงในวัสดุชำ เพื่อให้เกิดรากเท่านั้น
ดังนั้น ความหมายของคำว่า ตัดชำ จึงกว้างกว่า ปักชำ เพราะสามารถใช้ได้ทั้งส่วนที่
อยู่บนดิน เป็น ลำต้น กิ่ง และใบ และส่วนที่อยู่ใต้ดิน เป็น ราก เหง้า แง่ง และหัวพืช
การตัดชำ มีความสำคัญ คือ สามารถทำได้ง่าย และเพิ่มปริมาณพืชได้รวดเร็ว ใช้ต้นทุนต่ำ
และได้พันธุ์ไม้ที่ตรงตามพันธุ์เดิมการตัดชำพืชอวบน้ำ เป็นวิธีการตัดชำพืชที่เป็นไม้เนื้ออ่อน
ประเภทอวบน้ำ ส่วนใหญ่ใช้กับไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ฤาษีผสม แพรเซี่ยงไฮ้ กุหลาบหิน
แคคตัส บีโกเนีย เป็นต้น ซึ่งวิธีที่นิยมใช้ในการขยายพันธุ์พืช อวบน้ำนี้นิยมใช้การปักชำใบ
หรือยอด
การตัดชำใบ (Leaf Cutting) แบ่งออกเป็น
(1) การตัดชำแผ่นใบ
การตัดชำใบกับก้านใบการตัดชำแผ่นใบ เป็น การตัดใบไปปักชำทั้งใบ
โดยวางแผ่นใบให้หงายขึ้น แล้วใช้วัสดุชำ กลบขอบใบเล็กน้อย จะเกิดราก
และต้นใหม่บริเวณขอบใบมากมาย นิยมใช้ขยายพันธุ์พืชประเภท
โคมญี่ปุ่น กุหลาบหิน เป็นต้น
การตัดชำแผ่นใบ มีขั้นตอน ดังนี้
1. เลือกแผ่นใบที่เจริญเต็มที่
2. วางแผ่นใบหงายขึ้นในวัสดุชำที่ชื้น
3. สังเกตพืชต้นใหม่ที่เกิดขึ้นตามจักใบ
4. พืชต้นใหม่เจริญและแข็งแรง จึงย้ายปลูก

(2) การตัดชำใบกับก้านใบ เป็นการตัดใบไปปักชำ โดยให้ก้านใบติดไปด้วย
ใช้ได้ผลดีกับพืชประเภท เปปเปอร์โรเมีย ก้ามปูหลุด เป็นต้นการตัดชำใบกับก้านใบ
มีขั้นตอน ดังนี้
1. เลือกใบที่สมบูรณ์และเจริญเต็มที่
2. ใช้กรรไกรตัดก้านใบให้เหลือ ประมาณ 1 นิ้ว
3. ปักลึกเพียงเล็กน้อยในวัสดุชำที่ชื้น
4. พืชต้นใหม่เจริญและแข็งแรงดี จึงย้ายปลูก
ตัวอย่างการขยายพันธุ์แคคตัสโดยวิธีการปักชำ
เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดและเป็นที่นิยม เป็นการขยายพันธุ์โดยใช้ส่วน ของหน่อมาขยายพันธุ์ ซึ่งการขยายพันธุ์ทำได้ดังนี้
1. ใส่ถ่านรองไว้ที่ก้นกระถาง


2. ใส่ดินที่ผสมแล้ว ( ดินร่วน แกลบเผา ทราย )


3. นำต้นไม้ที่จะนำมาปักชำ จัดเป็นกลุ่มให้ดูสวยงาม


4. นำต้นไม้ไปปักไว้ในดินที่เตรียมไว้


5. ขั้นตอนสุดท้าย โรยกรวด ปิดด้านบนกระถาง เพื่อตกแต่งให้สวยงาม







งานถ่ายภาพ

โคสอัพ

รูปแบบ



ลักษณะพื้นผิว








สมดุลย์ที่เท่ากัน







สมดุลย์ไม่เท่ากัน




เส้นนำสายตา