7 กันยายน 2552

สื่อทางเสียง

จัดทำโดย
นางสุธีรา มงคล
นางบัวสอน ชาวกล้า
นางธัญธรณ์ แจคำ
นางสาวศิริรัตน์ สุวรรณ
นางสาวศุภัคษร พรหมสิทธิ
นางสาวสุพรรษา คำพันธ์
...............................
สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ทักษะประสบการณ์จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ สื่อทางเสียงนับเป็นสื่อสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเรียนการสอนเนื่องจากครูผู้สอนสามารถทำให้นักเรียนเข้าใจมากกว่าการเห็นภาพเพียงอย่างเดียวการใช้สื่อทางเสียงช่วยในการจัดการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีเครื่อง
มือประเภทโสตทัศนูปกรณ์เข้ามาร่วมด้วยเช่น เครื่องเสียง ไมโครโฟน โสตวัสดุ เช่น เครื่องบันทึกเสียง เครื่องรับวิทยุ เครื่องเล่นแผ่นเสียง แผ่นเสียง เป็นต้น
เครื่องเสียง เครื่องเสียงมีลักษณะที่เป็นอุปกรณ์ที่เป็นสื่อผ่านตัวกลางหรือผ่านตัวใน การถ่ายทอดเนื้อหาประเภทเสียงจากมนุษย์และแหล่งกำเนิดเสียงต่างๆให้มีเสียงดังเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้ยินระยะไกลและเพิ่มความดัของเสียงเพื่อให้ผู้ฟังจำนวนมากได้ยินอย่างชัดเจน
องค์ประกอบของเครื่องเสียง ประกอบด้วยภาคสัญญ่ณเข้า(ไมโครโฟน) ภาคขยายสัญญาณสัญญาณ ภาคสัญญาณออก(ลำโพง)
เครื่องเทปเสียง เครื่องเทปเสียงเป็นอุปกรณ์ในภาคสัญญาณเข้า เพื่อบันทึกเสียงต่างๆลงบนแถบเทปผ่านหัวเทปโดยใช้การเคลื่อนที่ของแถบเทปผ่านหัวเทปซึ่งอาศัยหลักทึการเหนี่ยวนำของคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียง เมื่อบันทึกเสียงแล้วจะมีการนำมาเล่นเพื่อส่งไปยังภาคขยายศัญญาณและถ่ายทอดเป็นคลื่นเสียงธรรมชาติให้ได้ยินต่อไป
ประเภทของเครื่องเทปเสียง เครื่องเทปเสียงแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะของตลับเทป ได้แก่
1. แบบม้วนเปิด (open reel) เป็นเทปบันทึกเสียงที่ให้คุณภาพเสียงดีเหมาะสำหรับการใช้งานระดับมืออาชีพ เช่น เสียงดนตรี รายการวิทยุ เป็นต้น
2. แบบกล่อง (cartridge) หรือเรียกทับศัพท์ว่า "เทปคาทริดจ์"เป็นเทปที่บรรจุอยู่ในกล่องมีขนาดความกว้างของเทป 1/4 นิ้ว พันเป็นวงปิดระหว่างวงล้อ 2 วง โดยจะมีการเล่นเทปวนซำไปมาไม่รู้จบ เทปแบบนี้นิยมใช้ในงานสปอตวิทยุ
3. แบบตลับคาสเซ็ต (cassette) เป็นเทปบันทึกเสียงที่อยู่ในตลับพลาสติกแบนเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปมีขนาดความกว้างแถบเทป 1/8 นิ้ว
4. แบบตลับคาสเซ็ตเล็ก (micro cassette) มีลักษณะเช่นเดียวกับเทปคาสเซ็ตธรรมดาแต่บรรจุในขนาดเล็กกว่ามีความยาวในการเล่นเพียง 15 นาที่เท่านั้น
การใช้งาน เครื่องเทปเสียงจะมีขั้นตอนสำคัญในการใช้งาน 3 ลักษณะ
1. การบันทึกเสียง (record) เครื่องเสียงเทปไม่ว่าประเภทใดก็ตาม จะมีการบันทึกแผ่นเสียงลงบนแถบเทปโดยอาศัยหลักการเดียวกันคือ คลื่นเสียงที่ป้อนเข้าไมโครโฟนซึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าจะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าความถี่เสียงแล้วขยายโดยเครื่องขยายเสียงให้มีกำลังแรงขึ้นเพื่อส่งไปยังหัวเทปซึ่งมีลักษณะเป็นขดลวดพันรอบแกนเหล็ก
2. การเปิดฟัง (play back) เป็นการนำแถบเทปที่มีการบันทึกเสียงแล้วในรูปของพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าเปิดฟังในขณะที่แถบเทปเคลื่อนผ่านหัวเทปจะทำให้เกิดกรกะแสไฟฟ้าความถี่เสียง แล้วส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง
3. การลบเทป (erase) เป็นการลบเสียงที่มีการบันทึกไว้แล้วโดยให้แถบเทปเคลื่อนที่ผ่านหัวเทปหรือสนามแม่เหล็กที่มีกำลังสูง ซึ่งจะทำให้โมเลกุลแม่เหล็กบนแถบเทปถูกทำให้เป็นระเบียบใหม่แล้วจะทำให้เสียงที่ถูกบันทึกไว้แล้วหายไป
ตังอย่างสื่อทางเสียง
1.วิทยุ
วิทยุ เป็นสื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารรับส่งข่าวสารข้อมูลทางเสียงดดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่ต้องใช้สาย การใช้วิทยุเพื่อเป็นสื่อมวลชนเพื่อเป็นการศึกษาในประเทศไทยเริ่มขึ้นในปี
พ.ศ2497 โดยใช้วิทยุในการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบดรงเรียน ถ้าเป็นการศึกษาในระบบโรงเรียนจะเรียกว่า"วิทยุโรงเรียน" ถ้าเป็การสึกษานอกระบบโรงเรียนจะเป็นในลักษณะ"วิทยุไปรษณีย์" ซึ่งเราเรียกวิทยุเพื่อการศึกษานี้ว่ารวมกันว่า "วิทยุศึกษา"
การใช้วิทยุเพื่อการศึกษา
การใช้วิทยุเพื่อการศึกษาสามารถนำมาใช้ในรูปแบบต่างๆได้แก่
1.การสอนโดยตรงเป็นวิทยุที่ใช้เพื่อสื่อการสอน โดยตรงในบางวิชาหรือบางตอนของบทเรียนรายการวิทยุที่ใช้สอนจึงเป็นการเสนอเนื้อหาตามบทเรียนในหลักสูตร บทเรียนการสอนทางวิทยุโดยตรงนี้อาจใช้ได้ในสถานที่ ที่ขาดแคลนครู หรือครูผู้สอนอาจไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นเพียงพอก็ได้ จึงต้องใช้รายการวิทยุแทน การสอนโดยใช้วิทยุสามารถกระทำได้ดังนี้
ก.ใช้เป็นเครื่องมือในการสอน โดยผู้สอนจะวางแผนการสอนโดยนำรายการวิทยุเข้าในกระบวนการสอนด้วย หรือการใช้วิทยุเป็นสื่อเข้ามามีบทบาทเพื่อสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งแทนผู้สอนโดยตรงในห้องเรียน ซึ่งผู้สอนจะต้องศึกษาจากตารางเวลาออกอากาศที่กำหนดไว้เพื่อนำรายการนั้นมาสอนให้ตรงเวลาของตน
ข.ใช้เป็นแหล่งการเรียนรู้ เป็นการบันทึกเสียงรายการวิทยุที่ใช้สอนในบทเรียนต่างๆไว้ในเทปเสียงแล้วรวบรวมไว้ในห้องสมุด เพื่อให้ผู้เรียนสามารถยืมออกไปเปิดฟังและศึกษาด้วยตนเองเพื่อการเรียนรู้ หรือาจใช้เพื่อทบทวนบทเรียนและสอนเป็นกลุ่มย่อยก็ได้
ค.ใช้เพื่อเป็นสื่อหลักในการศึกษาตามหลักสูตร ด้วยการจัดการสอนแก่ผู้เรียนในระบบการศึกษาแบบทางไกล โดยให้ผู้เรียนฟังรายการสอนจากวิทยุเป็นหลักและการศึกษาเพิ่มเติมจากสื่ออื่นๆเช่น สื่อสิ่งพิมพ์หรือการพบกลุ่ม เพื่อเสริมความรู้จากบทเรียนที่ได้ฟังมา
ง.เพื่อเสริมในการศึกษาระบบเปิด ด้วยการใช้รรายการววิทยุเพื่อเป็นสื่อส่งเสริมประเภทหนึ่งในระบบการศึกษาทางไกล โดยใช้ร่วมกับสื่ออื่นๆเช่น โทรทัศน์หรือสิ่งพิมพ์เป็นต้น
จ.ใช้เป็นอุปกรณ์ในการฝึกอบรม เป็นการใช้รายการวิทยุหรือเทปบันทึกเสียงรายการนั้นๆเพื่อการสอนหรืออบรมในหน่วยงาน
2.การเพิ่มคุณค่าในการสอน เป็นการใช้รายการวิทยุเพื่อปรุงแต่งและเสริมคุณค่าของการสอนในบางวิชาให้มีประสิทธิผลสูงขึ้น โดยการเสนอรายการที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือบทเรียนนั้นให้ผู้เรียนฟังเพื่อให้มีความรู้ความเจในสิ่งที่เรียนนั้นแตกฉานยิ่งขึ้น เช่น การสอนภาษาต่างประเทศโดยพูดจากเจ้าของภาษา การบรรเลงดนตรี เป็นต้น
วิทยุดรงเรียนคืออะไร
วิทยุดรงเรียนป็นสื่อการเรียนการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นบริการสื่อเพื่อการศึกษา สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษาทั่วประเทศ วิทยุดรงเยนเป็นสื่อผสมกล่าวคือเป็นการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียงประกอบกับสื่อสิ่งพิมพ์ คือ คู่มือการสอนของครู บัตรภาพ บัตรคำ สำหรับนักเรียนด้วย เนื้อหาของวิทยุโรงเรียนได้จัดให้สอดคล้องกับเนื้อหาตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการปัจจุบันวิทยุโรงเรียนจัดทำบทเรียนรายวิชาต่างๆสำหรับระดับประถมศึกษาทุกกลุ่ม
ประวัติการดำเนินงานโครงการวิทยุโรงเรียน
ความเป็นมา กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินงานจัดตั้งโครงการบริการวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ.2497 โครงการนี้มรนโยบายใช้วิทยุเป็นสื่อนำวิทยาการใหม่ๆทั้งนี้โดยกำหนดการจัดรายการเป็น 2 ภาคคือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น